คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่1
1.จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีการนำคอมพิวเตอร์
การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ
โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เทคโนโลยีเข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
เช่น การสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพมาตรฐาน การผลิตสินค้าและการให้บริการต่างๆ
ที่ตอบสนองความต้องการมนุษย์ได้มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้สามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากและมีราคาถูกลง
และช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นอย่างสะดวกและรวดเร็ว
ประชากรในโลกสามารถติดต่อสื่อสารและรับฟังข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกได้ตลอดเวลา
3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่
โบราณกาลมาแล้ว หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัวขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน
ตำบล อำเภอ จนในที่สุดเป็นเมือง และเป็นประเทศตามลำดับ
มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร
สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรคที่ชุมชนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง
เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี 2 ประเภทเข้าด้วยกัน
คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึง
ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ
ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ
และใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุ
มาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์
4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการ
โดยย่ออย่างไร
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี
2 ด้าน
คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีโทรคมนาคม
เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส (Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทาง
ไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด
(-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น…
– - – … การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387
เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก
ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่อง
มือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว
เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ “ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน
เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
5.ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial
Intelligence: AI) หมายถึงอะไร และมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
ตอบ จากการผสมผสานระหว่างปรัชญา, คณิตศาสตร์, จิตวิทยา,
ประสาทวิทยา, ภาษาศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาอื่นๆ ทำให้เกิดปัญญาประดิษฐ์ขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้นการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ยังเกี่ยวข้องกับอีกหลายๆ สาขา
เราจึงสามารถนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ได้หลายหลายและมีศักยภาพสูง
ปัญญาประดิษฐ์มีการวิวัฒนาการที่รวดเร็วมากโดยสามารถแตกเป็นสาขาต่างๆ
ได้มากมายภายในระยะเวลา 50 ปี
ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำตัวหนึ่งที่เราทุกคนต้องจับตามองเป็นอย่างยิ่ง
6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ 1. ความเร็ว
การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การค้นหาข้อมูลจะทำได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
เช่น การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
1. 2. ความถูกต้อง
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ
ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประมวลนั้นมีความผิดพลาดน้อยกว่าการประมวลผลด้วย มนุษย์
1. 3. การเก็บบันทึกข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้
จำนวนมากและมีความคงทนถาวรมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษ
1. 4. การเผยแพร่ข้อมูล
การรับส่งข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การเผยแพร่ข้อมูล
ทำได้อย่างกว้างขวางสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
7.สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ 1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate)
และไม่มีความผิดพลาด
2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตามความต้องการของผู้ใช้
3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ
ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ ในสังคมปัจจุบันไม่ว่าใครจะอยู่ที่ใด
แม้ในเมืองหรือชนบทก็ตาม ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือสังคมอื่นอยู่
เสมอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหรือการรับรู้
ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวันด้วยสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น
นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหรือกลไกเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น
การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM : Automatic Teller/Technology
Machine) การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน
การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น
9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
ตอบ กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้
ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุค ก่อน
การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ เช่น การสื่อสาร การธนาคาร การบิน วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การแพทย์
การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการ
ต่าง
ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ
ของโลกได้ทันเหตุการณ์
สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ เช่น
การถ่ายทอดสด การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา
การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่างๆ
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก เก็บข้อมูล สืบค้นข้อมูล
ฟังเพลง รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต
การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งาน
คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน
ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน
10.จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
ตอบ ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีบทบาทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมในหลายด้าน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
- ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
- ช่วยทำให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
- การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
- สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมากซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
- สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนการออกแบบและการควบคุมระบบการทำงาน
- ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กร
- กระจายโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
- สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย เช่น การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล เป็นต้น
- ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
- ช่วยทำให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
- การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
- สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมากซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
- สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนการออกแบบและการควบคุมระบบการทำงาน
- ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กร
- กระจายโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
- สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย เช่น การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล เป็นต้น
- ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
แหล่งที่มา http://www.vajira.ac.th
http://guru.google.co.th
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่2
1.คำว่า”ระบบ” และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ การทางานใดๆ ให้ประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นย่อมเกิดจากพื้นฐานวิธีการที่มีลำดับและขั้นตอนชัดเจนสามารถปฏิบัติซ้ำ
ๆ ได้หลายครั้งอย่างถูกต้องและสมเหตุสมผลทุกครั้งไป เราเรียกว่ากระบวนการและขั้นตอนนั้นว่า
“ระบบ”
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
ตอบ เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ
เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ
3.ระบบสารสนเทศ หมายถึง
อะไร
ตอบ ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล
โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ
เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง
4.องค์ประกอบหลักระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
ตอบ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
มี 5 องค์ประกอบได้แก่
ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน
และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
ตอบ ด้านจุดมุ่งหมาย 1)
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Increase Work Efficiency) องค์กรสามารถนำระบบสารสนเทศมาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายใต้สภาวะที่มีกำลังคนและกำลังการผลิตที่เท่าเดิม
แต่ปริมารงาน ที่ทำมีมากขึ้นการนำระบบสารสนเทศมาใช้จะช่วยทำให้ทำงานสะดวก รวดเร็ว
และมีความถูกต้องมากขึ้น
2)
เพิ่มผลิตให้แก่องค์กร (Increase Productivity) ตัวอย่างเช่นมีการนำระบบควบคุมการผลิตมาใช้
ทำให้องค์กรสามารถผลิตสินค้าหรือบริการได้มากขึ้นเพียงพอต่อความต้องการของตลาดเป็นต้น
3)
เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า (Increase service Quality) ระบบสารสนเทศถูกนำมาใช้พัฒนาการให้บริการลูกค้า
เพื่อเพิ่มความพึงพอในในการใช้บริการของลูกค้า เช่น
ระบบสอบถามและจองตั๋วเครื่องบินผ่านอินเตอร์เน็ต โดยที่ไม่ต้องเดินทางมาเอง
เป็นต้น
4)
เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน (Increase Competitive
Advantage) ข้อมูลนับว่ามีความสำคัญมาก ในทางธุรกิจ
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี
เพื่อนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อนำมาพัฒนา
ปรับปรุงองค์กร
ด้านขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การคำนวณ การทำรายงาน การจัดเก็บ การทำสำเนา การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล
ด้านขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การคำนวณ การทำรายงาน การจัดเก็บ การทำสำเนา การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
ตอบ เก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายใน
และภายนอกองค์การมาไว้อย่างเป็นระบบ
เพื่อทำการประมวลผลและจัดรูปแบบข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสม
และจัดพิมพ์เป็นรายงานส่งต่อไปยังผู้ใช้
เพื่อช่วยให้การตัดสินใจและบริหารงานของผู้บริหารมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ การทำงานต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระบบย่อย รวบรวมข้อมูลโดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่าน ข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่ง ที่กรอกข้อมูล
7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สารสนเทศมีบทบาทกับบุคคลในทุกระดับองค์กร
โดยแต่ละระดับจะมีลักษณะและจุดมุ่งหมายในการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. สารสนเทศระดับบุคคล คือ
สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน
ทำให้การทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ้งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงานและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล
เช่น พนักงานขายใช้สารสนเทศในการนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ เลขานุการใช้สาสนเทศจัดทำจดหมายเวียนส่งให้แก่ผู้ร่วมประชุมและนักเรียนใช้สาสนเทศทำรายงานที่สะอาดเรียบร้อย
2. สารสนเทศระดับกลุ่ม คือ
สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลทีมีจุดมุ่งหมายในการทำงานอย่างเดียวกัน
ซึ่งจะส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน
สาสนเทศระดับกลุ่มจึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน
จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลร่วมกัน
ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลที่ เครื่องเซิร์ฟเวอร์(Server)ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูล
เช่น พนักงานขายสามารถใช้สินค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน
ผู้ร่วมประชุมสามารถใช้เอกสารประกอบการประชุมชุดเดียวกันจากสถานที่ใดก็ได้
และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. สารสนเทศระดับองค์กร คือ
สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กรซึ่งจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในหลายฝ่าย
จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่ม เข้าด้วยกัน
ทำให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง
เนื่องจากสามารถใช้ข้อมูลจากฝ่ายใดก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเป็นหลัก
8.ข้อมูลและความรู้ คืออะไร
มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี
การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ
ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย
มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น
การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด
เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป เป็นต้น ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
1. ให้ความรู้
2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
4. สามารถประเมินค่าได้
2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
4. สามารถประเมินค่าได้
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสานสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ 1.การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล
ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกเป็นกลุ่ม เพื่อ เตรียมไว้สำหรับการใช้งาน
2. การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว
ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร
หรือเพื่อเรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา
3. การสรุปผล บ่งครั้งข้อมูลที่จัดเก็บก็มีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือการสร้างรายงานย่อเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปอาจสื่อความหมายได้กว่า 4. การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วยการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน
3. การสรุปผล บ่งครั้งข้อมูลที่จัดเก็บก็มีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือการสร้างรายงานย่อเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปอาจสื่อความหมายได้กว่า 4. การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วยการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ ข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์เป็นเลขฐานสอง
ประกอบไปด้วยตัวเลข 0 และ 1 เช่น 0001 0101 1010 เป็นต้น
ข้อมูลหนึ่งหน่วยข้อมูลที่เป็น 0 หรือ 1 เรียกว่า 1 บิต (bit) เมื่อข้อมูลเรียงกัน 8 bits ก็เรียกว่า
1 ไบต์ (byte) เช่น
01010111 มีค่าเท่ากับ 1 byte
โดยทั่วไปการใช้คำนำหน้า (prefix) หมายถึง
10 ยกกำลัง n เช่น kilo คือ 10 ยกกำลัง 3 = 103 = 1,000 แต่ในทางคอมพิวเตอร์ คำนำหน้าที่ใช้เรียกขนาดของข้อมูลขนาดความจุ ความเร็วในการส่งข้อมูล
และความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะอยู่ในรูปของ 2 ยกกำลัง n เช่น kilobytes คือ 2 ยกกำลัง 10 =
210 = 1,024 bytes
การเลือกแปลงค่าคำนำหน้าให้เป็น 2n หรือ 10n นั้นโดยทั่วไปมักเลือกใช้ตามความนิยมที่มี การบอกขนาดของ bits มักจะใช้ 10n แต่การบอกขนาดของ bytes มักจะใช้ 2n เช่น 1 kbps (1 kilo bit per second) มีค่า 103 หรือ 1000 bits per second 1 KB (1 kilobytes) มีค่า 210 หรือ 1,024 bytes 220 หรือ 1,048
k-bytes 230 หรือ 1,073 M-bytes
เมื่อเก็บข้อมูลลง hard drive, ZIP disk, tape หรือ CD-ROM จะใช้เลขยกกำลังฐาน 2
ในการบอกขนาดของข้อมูล โดยใช้ K แทนคำว่า kilo ซึ่งเท่ากับ 210 ตัวอย่างเช่น 1 KB (1 kilobyte) มีค่าเท่ากับ 210 หรือ 1,024 bytes, 1MB (1
megabyte) มีค่าเท่ากับ 220 หรือ 1,048,576 bytes
แหล่งที่มา http://www.smj.ejnal.com
แหล่งที่มา http://www.smj.ejnal.com
http://www.learners.in.th
http://www.chakkham.ac.th
http://pirun.kps.ku.ac.th
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่3
1. คอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง
ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1.มีความเร็วในการทำงานสูง
2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
3.มีความถูกต้องแม่นยำ
4.เก็บข้อมูลได้มาก
5.สามรถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
2. คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
ตอบ เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนในช่วงปี
พ.ศ.500 มีการประดิษฐ์ลูกคิด Abacus ขึ้นมา
ช่วยในการคิดเลขจึงถือได้ว่าเครื่องคิดเลขนี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องคิดเลข
ปี พ.ศ.2185 แบลส์
พาสคัล Blaise Pascal นักวิทยาศาสตร์และปรัชญาชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขขึ้นมาใช้งานเครื่องมือที่เขาสร้างขึ้นในการคำนวณสามารถใช้บวกและลบค่าตัวเลขได้อย่างถูกต้อง
ปี พ.ศ.237 ชาร์ล แบบ
เบจ
ได้สร้างเครื่องกำเนิดที่ทำงานโดยอาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลกเราให้เกียรติยกย่องว่าเขาเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์
ปี พ.ศ.2489 คณะวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกาทีมงานหนึ่งได้พัฒนาแล้วสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องแรกของโลกมีชื่อเรียกว่า อินิแอ็ก Enlac
3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS
cycle) คือ
1.ส่วนรับข้อมูล (Input
Unit)
2.ส่วนประมวลมลข้อมูล (Central
Processing Unit)
3.ส่วนแสดงผล (Output
Unit)
4.หน่วยประมวลผล (Memory
Unit)
4. ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ตอบ ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด
เช่นการตรวจสอบข้อมูลประชาชนจากระบบทะเบียนราษฎร์ของสำนักทะเบียนราษฎร์
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ส่วนประกอบที่สำคัญมี 4
ส่วน
1.Hardware หรือส่วนเครื่อง
2.Software หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.Data ข้อมูล
4. People บุคลากร
5. ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ตอบ Hardware หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างที่สามรถสัมผัสและจับต้องได้
ฮาร์ดแวร์จะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ
4 ส่วน
1.ส่วนประมวลผล
Processor
2.ส่วนความจำ Memory
3. อุปกรณ์รับข้อมูลเข้าและส่งออก Input
Output Devices
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล Storage
Device
6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์
มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม
หน่วยคำนวณ
1.หน่วยควบคุม (Control
Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล
หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรกะ หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
2.หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic
and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข
เช่น การ บวก ลบ การเปรียบเทียบ
3.หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM) และแบบรอม (ROM) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ 1.หน่วยความจำแบบแรม RAM=Random Aceess Memory เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล
2.หน่วยความจำแบบรอม ROM=Read Only Memory เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร
8. จานบันทึกข้อมูล (Hard Disk) ประกอบด้วยอะไร
ทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่นและเครื่องขับจาน Hard Disk Drive เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง
มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆลงบนผิวของแผ่น
9. บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์ (Megabyte)
กกะไบต์ (Gigabyte) พิกเซล (Pixel)
จิกะเฮิร์ซ (GHz)
ตอบ เมกะไบต์ Megabyte หมายถึง MB ย่อมาจาก megabyte (เมกะไบต์) คือ
หน่วยความจุในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์
(อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต)
ซึ่งบอกถึงปริมาณหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถเก็บตัวอักษรได้ 1 ล้านตัว หรือมีค่าเท่ากับ 2 ยกกำลัง 20
= 1,048,567 BYTES หรือเท่ากับ 1024 กิโลไบต์นิยมเรียกสั้นๆว่า เม็ก หรือmeg โดย 8 บิต (Bit ) = 1 ไบต์ (Bite) จริง ๆแล้ว 1 เมกะไบต์จะเท่ากับ 1,024 กิโลไบต์ หรือเท่ากับ 1,048,576 ไบต์
คิดคร่าว ๆ เท่ากับ 1ล้านไบต์
(กฎหมายของอเมริกามีกำหนดไว้ชัดเจนว่า1 เมกะไบต์
เท่ากับ 1 ล้านไบต์เท่านั้น
กิกะไบต์ Gigabit หมายถึง Bit คือ เลขโดดฐาน 2,หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด มีค่าเป็นตัวเลขระบบฐาน 2 คือ 0 หรือ 1 (binary )ดังนั้น gigabit คือ หนึ่งพันล้านหลัก binary หรือ 1,000,000,000 (109) บิต ซึ่งเป็นหน่วยที่มีการใช้โดยทั่วไปสำหรับการวัดจำนวนรวมของข้อมูลและการส่งผ่านใน 1 วินาที ระหว่างจุดการสื่อสาร 2 จุด เช่น Gigabit Ethernet เป็นรูปแบบความเร็วสูงของEthernet (เทคโนโลยีของเครือข่ายLAN ) ที่สามารถให้อัตราการส่งข้อมูลประมาณ 1 gigabit ต่อวินาที (gbps)
พิกเซล Pixel หมายถึง Pixel มาจาคำว่า picture (ภาพ) กับคำว่า Element (พื้นฐาน) คือ หน่วยพื้นฐานซึ่งเล็กที่สุดของภาพดิจิตอล เทียบได้กับจุดสีของภาพ 1 จุด หลากหลายสี หลายๆจุดที่เรียงชิดติดกันถูกรวมกันทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง แต่ 1 Pixel จะเป็นสีหนึ่งสีใดเพียงสีเดียวเท่านั้นจะมีสีอื่นไม่ได้ เนื่องจากว่าเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของการแสดงผลพิกเซลนั้นมีความสำคัญต่อการสร้างกราฟฟิกของคอมพิวเตอร์มาก เพราะทุกๆส่วนของกราฟฟิก เช่น จุด เส้น แบบลายและสีของภาพ ล้วนเกิดจากพิกเซลทั้งสิ้น อย่างกล้องถ่ายรูปความละเอียด 5 ล้านพิกเซล นั้นหมายความว่าเมื่อถ่ายภาพที่ความละเอียดสูงสุด (ที่กล้องสามารถจะถ่ายได้) จะได้เม็ด Pixel 5 ล้านเม็ด ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ง่ายๆว่า ยิ่งมีค่าพิกเซลสูงเท่าไหร่ภาพที่ได้ยิ่งมีความละเอียดสูงด้วย
กิกะไบต์ Gigabit หมายถึง Bit คือ เลขโดดฐาน 2,หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด มีค่าเป็นตัวเลขระบบฐาน 2 คือ 0 หรือ 1 (binary )ดังนั้น gigabit คือ หนึ่งพันล้านหลัก binary หรือ 1,000,000,000 (109) บิต ซึ่งเป็นหน่วยที่มีการใช้โดยทั่วไปสำหรับการวัดจำนวนรวมของข้อมูลและการส่งผ่านใน 1 วินาที ระหว่างจุดการสื่อสาร 2 จุด เช่น Gigabit Ethernet เป็นรูปแบบความเร็วสูงของEthernet (เทคโนโลยีของเครือข่ายLAN ) ที่สามารถให้อัตราการส่งข้อมูลประมาณ 1 gigabit ต่อวินาที (gbps)
พิกเซล Pixel หมายถึง Pixel มาจาคำว่า picture (ภาพ) กับคำว่า Element (พื้นฐาน) คือ หน่วยพื้นฐานซึ่งเล็กที่สุดของภาพดิจิตอล เทียบได้กับจุดสีของภาพ 1 จุด หลากหลายสี หลายๆจุดที่เรียงชิดติดกันถูกรวมกันทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง แต่ 1 Pixel จะเป็นสีหนึ่งสีใดเพียงสีเดียวเท่านั้นจะมีสีอื่นไม่ได้ เนื่องจากว่าเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของการแสดงผลพิกเซลนั้นมีความสำคัญต่อการสร้างกราฟฟิกของคอมพิวเตอร์มาก เพราะทุกๆส่วนของกราฟฟิก เช่น จุด เส้น แบบลายและสีของภาพ ล้วนเกิดจากพิกเซลทั้งสิ้น อย่างกล้องถ่ายรูปความละเอียด 5 ล้านพิกเซล นั้นหมายความว่าเมื่อถ่ายภาพที่ความละเอียดสูงสุด (ที่กล้องสามารถจะถ่ายได้) จะได้เม็ด Pixel 5 ล้านเม็ด ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ง่ายๆว่า ยิ่งมีค่าพิกเซลสูงเท่าไหร่ภาพที่ได้ยิ่งมีความละเอียดสูงด้วย
นอกเหนือจากหน่วยของการแสดงที่เป็น Pixel ยังมีคำว่า bpp ย่อมาจากคำว่า bits per pixel คือค่าของจำนวนสีที่สามารถแสดงได้ในหนึ่งพิกเซล
ดังที่บอกไปในข้างต้นว่า 1 Pixel จะสามารถแสดงผลแสดงผลได้เพียงสีเดียวเท่านั่น
ดั่งนั่นค่า bpp จะเป็นตัวบอกว่าใน 1Pixelจะสามารถเปลี่ยนสีได้กี่สี (รูปคงไม่สวยแน่ถ้ามีPixelหลายอันมาเรียงต่อกันแล้วทุกพิกเซลเป็นสีเดียวกัน)อาจเรียกว่าบิต(Bit
) เฉยๆก็ได้
จิกะเฮิร์ธ GHZหมายถึงเฮิรตซ์ (อังกฤษ: hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ
1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ : ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ 50 ครั้งต่อ 1 วินาที[1]หน่วยความถี่อื่นๆ ได้แก่
เรเดียนต่อวินาที (radian/second, rad/s) และ
รอบต่อนาที (revolutions per minute, RPM)hertz มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน
ชื่อ ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ (Heinrich Rudolf Hertz) เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน
แม่เหล็กไฟฟ้าหน่วย hertz ได้กำหนดครั้งแรกในปี
พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แล้วเริ่มมาใช้แทน หน่วย รอบต่อวินาที (cycles per
second หรือ cps) ในปี พ.ศ.
2503 (ค.ศ. 1960) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) หน่วย Hz ได้ใช้ทดแทนการใช้ cps แทบทั้งหมด
10. จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาร์ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ จอภาพ Monitor เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวหนังสือ
ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
แป้นพิมพ์
หรือ แผ่นแป้นอักขระ Key Board เป้นอุปกรณ์ที่สำคัญของคอมพิวเตอร์สามารถรับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นเพื่อส่งต่อไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
เมาส์ Mouse เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายตัวหนูส่วนของสายสัญญาจากตัวอุปกรณ์ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายส่วนของหางหนู
เราใช้เมาส์ในการควบคุมตัวชี้ Pointer ที่ปรากฎบนจอภาพให้สามารถเลื่อนไปสู้ตำแหน่งต่างๆที่ต้องการได้
แหล่งที่มา http://junjao.com
http://th.wikipedia.org
http://qa.thailand14.com
http://qa.thailand14.com
http://www.bcoms.net
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4
1. ซอฟต์แวร์ คืออะไร
และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ Software (ซอฟต์แวร์)
เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง
เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน
ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง
การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง
ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์
และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows
XP , DOS , Linux , Mac OS X
1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์
ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น
และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส ,
โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่
ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม
Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup
Data)
1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver)
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก
ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น
เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ
นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง
ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
โดยปกติโปรแกรม windows
ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง
เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์
แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้
ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์
1.4 ตัวแปลภาษา (Language
Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร
เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly)
หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ
เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1
เท่านั้น
ตัวแปลภาษาแบ่งได้ 3 ตัวแปล ดังนี้
- แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง
เช่นแปลจากภาษา Assembly เป็นภาษาเครื่อง
- อินเทอพรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละบรรทัดคำสั่ง เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา Basic ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษาเครื่องทีละบรรทัดคำสั่ง
- อินเทอพรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละบรรทัดคำสั่ง เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา Basic ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษาเครื่องทีละบรรทัดคำสั่ง
- คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว
เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา C ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษา
เครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว ซึ่งจะเป็นที่นิยมมากกว่า ข้อ 2
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น
การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน
เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร
ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน
Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี
ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆจัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆจัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
การใช้งานทั่วไปก็จะมี Software ต่างๆ เช่น
- ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร
- ซอฟต์แวร์งานนำเสนอ
- ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ
- ซอฟต์แวร์งานกราฟิก
- ซอฟต์แวร์สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ
2. ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ Software มี 2 ประเภท
ดังนี้
1. Software ระบบ (System Software) คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของ Hardware ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน
1. Software ระบบ (System Software) คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของ Hardware ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน
Software หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ
DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง
เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
2. Software ประยุกต์ (Application
Software)
คือ Software หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
Software ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
คือ Software หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
Software ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 Software สำหรับงานเฉพาะด้าน
คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่าง บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์ม แตกต่างกันออกไปตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และ Software ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.2 Software สำหรับงานทั่วไป
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องใช้เวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานที่ขาดบุคลากร ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวก และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่าง บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์ม แตกต่างกันออกไปตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และ Software ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.2 Software สำหรับงานทั่วไป
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องใช้เวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานที่ขาดบุคลากร ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวก และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
โปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้
ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS,
Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
ในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมี Software ทั้ง 2 ประเภทเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดย Software ระบบทำหน้าที่ควบคุมส่วนของ Hardware ให้ทำงานอย่างอัตโนมัติ ส่วนของ Software ประยุกต์นั้นจะทำหน้าที่ควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ผู้ใช้ต้องการเพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ
ในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมี Software ทั้ง 2 ประเภทเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดย Software ระบบทำหน้าที่ควบคุมส่วนของ Hardware ให้ทำงานอย่างอัตโนมัติ ส่วนของ Software ประยุกต์นั้นจะทำหน้าที่ควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ผู้ใช้ต้องการเพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ
3. ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร
ตอบ คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์
จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ
การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์
โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
4. ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี
ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้นการทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย
ตัวอย่างเช่น
ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์
เป็นต้น
5. ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร
ตอบ
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น
ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี
ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรมบริหารการเงิน
และการเช่าซื้อความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก
ดังนั้นจึงยังมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ
อีกมากมาย
6. ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน
มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจ ให้คอมพิวเตอร์รับรู้
และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว
เรามีภาษาที่ใช้ในการเมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน
มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจ ให้คอมพิวเตอร์รับรู้
และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว
เรามีภาษาที่ใช้ในการใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้
ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์
รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่ง และใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที
แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก
จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ
ภาษาในลักษณะดังกล่าว
เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณ ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์
ทำงาน ตามภาษาเครื่องนั้น ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ ทำตามคำสั่งนั้น
เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณ ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์
ทำงาน ตามภาษาเครื่องนั้น ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ ทำตามคำสั่งนั้น
7. ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ การติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้
เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า
ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่ง และใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก
จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ
ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง
ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณ ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง
โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า
คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน
แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้ว จึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป
ข้อแตกต่างระหว่าง คอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง
ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอลซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุม การทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการ ตามแนว ความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น
ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่ง และใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้
8. ระบบปฏิบัติการคืออะไร
ทำหน้าที่อะไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการคือกลุ่มโปรแกรมที่ได้รับการจัดระเบียบเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบ
และเสริมการทำงานในส่วนของฮาร์ดแวร์ โดยใช้เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และผู้ใช้
ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาและการใช้งานโปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ในระบบให้มีประสิทธิผลที่ดี ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ
แหล่งที่มา http://home.kku.ac.th
http://www.chakkham.ac.th
http://www.krumai.com
ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาและการใช้งานโปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ในระบบให้มีประสิทธิผลที่ดี ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ
แหล่งที่มา http://home.kku.ac.th
http://www.chakkham.ac.th
http://www.krumai.com
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 5
1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2
เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ
ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ
เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง
เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า
ไคลเอนต์(Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร
เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก
ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก
รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ
และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ
2. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ
กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร
และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
3. ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ฮาร์ดแวร์สำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณมีส่วนประกอบหลักสามส่วนคือ
เครื่องพีซี (Personal Computer) อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
(Network Interface Card or Adapter Card) และสื่อถ่ายทอดสัญญาณ
(Transmission Medium) เครื่องพีซีบางส่วนอาจทำหน้าที่พิเศษในขณะที่ส่วนที่เหลือทำหน้าที่สำหรับการใช้งานทั่วไป
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี (Personal Computer; PC) สามารถนำมาใช้งานในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณได้ ถ้ามีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานที่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายนั้นเครื่องพีซีที่จะนำมาใช้นั้นจะต้องมีช่องสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเรียกว่า Expansion Slot หรือ Adapter Slot เพื่อนำมาใช้สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
เครื่องพีซีจะถูกนำมาใช้ในสองบทบาทคือ เป็นเครื่องทำงานหรือเครื่องผู้ใช้ (Work Station or Client) ซึ่งมีไว้ให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถทำงานโดยลำพังและติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นผ่านระบบเครือข่ายได้ ส่วนอีกบทบาทเป็นผู้ให้บริการหรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) ซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ เช่น การใช้ข้อมูลประมวลผลความต้องการของผู้ใช้ที่ส่งมาจากเครื่องผู้ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล ทำหน้าที่ควบคุมการพิมพ์งานช่วยติดต่อสื่อสารกับระบบเครือข่ายอื่นประมวลผลซอฟต์แวร์บริหาร จัดการเครือข่าย และบริการรับส่งแฟกซ์
อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface Card or Adapter Card) ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครื่องพีซีเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เป็นแผงวงจรสำหรับเสียบเข้าช่องต่อขยาย (Expansion Bus) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถต่อสายของเครือข่ายเข้ามาและทำการติดต่อส่งข้อมูลกับเครือข่ายได้สื่อถ่ายทอดสัญญาณ (Transmission Medium) ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดในระบบเครือข่ายเข้าด้วยกันและถ่ายทอดสัญญาณไปยังอุปกรณ์เหล่านั้น ตัวอย่างสื่อถ่ายทอดสัญญาณที่ใช้ทั่วไป ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair) สายโคแอกเซียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) และอากาศ (สำหรับถ่ายทอดสัญญาณคลื่นวิทยุ) เป็นต้น ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณส่วนใหญ่นิยมใช้สายคู่บิดเกลียวและสายโคแอกเซียล เนื่องจากเป็นสื่อที่ใช้เทคโนโลยีต่ำ ราคาถูก และสามารถติดตั้งใช้งานได้ง่าย สายใยแก้วนำแสงมีคุณภาพดีที่สุดแต่ก็ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง มีข้อจำกัดมาก และราคาแพงมาก จึงนิยมนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายหรือใช้เป็นช่องสื่อสารหลัก (Backbone) สำหรับระบบเครือข่ายบางแห่งระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network) เป็นระบบที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้งานอย่างมากโดยเฉพาะในองค์กรสมัยใหม่ที่มีอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (อย่างเช่น โน้ตบุ๊ก) เป็นจำนวนมาก จุดเด่นของระบบเครือข่ายไร้สายคือ การที่ไม่ใช้สายสื่อสารทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานเป็นอย่างมาก และไม่มีความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินสายสื่อสารไปตามจุดต่าง ๆ หรือปัญหา สายสื่อสารชำรุด การสื่อสารไร้สายสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้คลื่นวิทยุธรรมดา คลื่นวิทยุเซลลูลาร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุแบบสเปรดสเปกตรัม อินฟราเรด และเลเซอร์ เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี (Personal Computer; PC) สามารถนำมาใช้งานในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณได้ ถ้ามีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานที่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายนั้นเครื่องพีซีที่จะนำมาใช้นั้นจะต้องมีช่องสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเรียกว่า Expansion Slot หรือ Adapter Slot เพื่อนำมาใช้สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
เครื่องพีซีจะถูกนำมาใช้ในสองบทบาทคือ เป็นเครื่องทำงานหรือเครื่องผู้ใช้ (Work Station or Client) ซึ่งมีไว้ให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถทำงานโดยลำพังและติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นผ่านระบบเครือข่ายได้ ส่วนอีกบทบาทเป็นผู้ให้บริการหรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) ซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ เช่น การใช้ข้อมูลประมวลผลความต้องการของผู้ใช้ที่ส่งมาจากเครื่องผู้ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล ทำหน้าที่ควบคุมการพิมพ์งานช่วยติดต่อสื่อสารกับระบบเครือข่ายอื่นประมวลผลซอฟต์แวร์บริหาร จัดการเครือข่าย และบริการรับส่งแฟกซ์
อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface Card or Adapter Card) ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครื่องพีซีเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เป็นแผงวงจรสำหรับเสียบเข้าช่องต่อขยาย (Expansion Bus) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถต่อสายของเครือข่ายเข้ามาและทำการติดต่อส่งข้อมูลกับเครือข่ายได้สื่อถ่ายทอดสัญญาณ (Transmission Medium) ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดในระบบเครือข่ายเข้าด้วยกันและถ่ายทอดสัญญาณไปยังอุปกรณ์เหล่านั้น ตัวอย่างสื่อถ่ายทอดสัญญาณที่ใช้ทั่วไป ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair) สายโคแอกเซียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) และอากาศ (สำหรับถ่ายทอดสัญญาณคลื่นวิทยุ) เป็นต้น ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณส่วนใหญ่นิยมใช้สายคู่บิดเกลียวและสายโคแอกเซียล เนื่องจากเป็นสื่อที่ใช้เทคโนโลยีต่ำ ราคาถูก และสามารถติดตั้งใช้งานได้ง่าย สายใยแก้วนำแสงมีคุณภาพดีที่สุดแต่ก็ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง มีข้อจำกัดมาก และราคาแพงมาก จึงนิยมนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายหรือใช้เป็นช่องสื่อสารหลัก (Backbone) สำหรับระบบเครือข่ายบางแห่งระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network) เป็นระบบที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้งานอย่างมากโดยเฉพาะในองค์กรสมัยใหม่ที่มีอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (อย่างเช่น โน้ตบุ๊ก) เป็นจำนวนมาก จุดเด่นของระบบเครือข่ายไร้สายคือ การที่ไม่ใช้สายสื่อสารทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานเป็นอย่างมาก และไม่มีความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินสายสื่อสารไปตามจุดต่าง ๆ หรือปัญหา สายสื่อสารชำรุด การสื่อสารไร้สายสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้คลื่นวิทยุธรรมดา คลื่นวิทยุเซลลูลาร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุแบบสเปรดสเปกตรัม อินฟราเรด และเลเซอร์ เป็นต้น
4. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้รวดเร็ว มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยผ่านสายสื่อสาร ซึ่งเราเรียกว่า การเชื่อมต่อแบบเครือข่าย (Network)
ถ้าต่อเชื่อมกันใกล้ ๆ ในพื้นที่เดียวกันเรียกว่า LAN (Local
Area Network) ถ้าการเชื่อมต่อเครือข่ายทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า
LAN เรียกว่า MAN (Metropolitan Area Network) ถ้าเชื่อมต่อกันไกล ๆเช่น ข้ามประเทศเรียกว่า WAN (Wide Area Network)
การดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรมีความสำคัญอย่างมาก และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด สำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งผู้บริหารและองค์กรที่เล็งเห็นถึงประโยชน์ จากการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชาญฉลาดในการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น ที่จะได้พบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนสามารถสร้างโอกาสให้กับองค์กรให้มีความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ ในยุคเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันกันสูง และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรมีความสำคัญอย่างมาก และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด สำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งผู้บริหารและองค์กรที่เล็งเห็นถึงประโยชน์ จากการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชาญฉลาดในการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น ที่จะได้พบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนสามารถสร้างโอกาสให้กับองค์กรให้มีความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ ในยุคเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันกันสูง และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การเพิ่มขีดความสามารถและความชาญฉลาดเข้าไปในระบบเครือข่ายอย่างมากมาย
ผลที่ตามมาก็คือ โครงสร้างพื้นฐานในการสื่อสารที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพสำหรับการสื่อสารทั้งทางด้านเสียง
ภาพและข้อมูลในระบบเครือข่าย หรือถ้าจะพูดให้ง่ายเข้าก็อาจจะเรียกสั้น
ๆ ได้ว่าเป็นระบบเครือข่ายสารสนเทศอัจฉริยะ
ซึ่งจะเป็นระบบสารสนเทศที่ประกอบไปด้วยความคล่องตัว
5. ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
Network
Operating System (NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
(Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย
สำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์
และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ
ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มี คุณสมบัติในการ
จัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server)โดยส่วนประกอบสำหรับการ
เรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์
ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น
การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น
การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง
ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server)โดยส่วนประกอบสำหรับการ
6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ มี 3 ประเภทใหญ่
1.เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ LAN
=Local Area Network
2. เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง MAN=Metropolitan
Area Network
3. เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง WAN=Wide Area Network
7. รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ มี 2 รูปแบบ
http://catzagang.blogspot.com
http://uhost.rmutp.ac.th
1.ฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ
2.ส่วนของซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการ
แหล่งที่มา http://saithammachannetwork.blogspot.com
http://blog.eduzones.comhttp://catzagang.blogspot.com
http://uhost.rmutp.ac.th
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6
1. อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ คือ
การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced
Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ
(U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ
ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
2. จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ 1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล
2.ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่
3.นักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง
ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
3. จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ 1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
2.ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆได้ทั่วโลก
3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ต่างระบบ
4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆเช่น
การฟังเพลง เล่นเกม
6.ใช่สือสารด้วยข้อความ
7.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
8.ซื้อขายสินค้าและบริการ
4. การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์
Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกับสายเคเบิลทีวี
และรับข้อมูลที่ 1.5 Mbps อัตราข้อมูลสูงกว่าโมเด็มโทรศัพท์ขนาด
28.8 และ 56 kbps หรือระบบ Integrated
Services Digital Network (ISDN ) ขนาด 128 kbps และอัตราข้อมูลรองรับกับระบบ Digital Subscriber Line (DSL) นอกจากนี้ cable modem สามารถเพิ่มหรือรวมกับ set-top-box
ที่ให้โทรทัศน์ใช้ช่องสัญญาณของอินเตอร์เน็ต ในกรณีส่วนใหญ่ cable
modem สามารถทำเป็นส่วนการเข้าถึงทางสายเคเบิล
ซึ่งไม่ต้องซื้อโดยตรงและติดตั้งโดยผู้ให้บริการ
5. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
WWW มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เป็นระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลกซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านั้นสามารถอยู่ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน
เช่น เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว แสง เป็นต้น
6. จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ
E-mail
ตอบ บริการรับ-ส่ง
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ซึ่งจดหมายเหล่านี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปถึงผู้รับไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลกอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาทีจดหมายที่ส่งจะเป็นข้อมูล
เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียงก็ได้
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 7
1. จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ
ว่ามีกี่ประเภท
ตอบ 4 ประเภท
4.รูปแบบข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ
1.อินทราเน็ต Intranet
2.เอกซ์ทราเน็ต Extranet
3.อินเตอร์เน็ต Internet4.รูปแบบข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ
2. อินทราเน็ต (Intranet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรหนึ่งๆข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรหรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร
คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน
3. จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่
จนได้รับสมญานามว่า “ห้องสมุดโลก”
ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นในการที่เราจะค้นหา ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วนั้น
ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลนี้ นั่นคือ
มักประสบปัญหาไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด ดังนั้นจึงได้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต
ที่เรียกว่า เครื่องมือช่วยค้น หรือ เซิร์ชเอ็นจิน (Search Engine)
ในการสืบค้นข้อมูลนั้นถ้าหากเราทราบแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์
เราก็สามารถพิมพ์หรือระบุ URL ในช่อง Address ได้เลย แต่ถ้าหากเราไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลนั้นอยู่ที่ใด
เราสามารถใช้เว็บไซต์ที่เป็น Search
รูปแบบการสืบค้น โดยทั่วไป
Search Engine แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com , www.lycos.com,www.sanook.com, www.siamguru.com เป็นต้น
1. การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com , www.lycos.com,www.sanook.com, www.siamguru.com เป็นต้น
ตัวอย่าง การค้นแบบนามานุกรม ของ www.sanook.com
โดยแบ่งรายการกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เช่น การศึกษา การแพทย์ สุขภาพ กีฬา
คอมพิวเตอร์
2. การค้นหาแบบดรรชนี (Index)
หรือคำสำคัญ (Keywords)
เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบนามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator) เป็นต้น โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร
เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบนามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator) เป็นต้น โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร
ตัวอย่าง การค้นหาแบบดรรชนี โดยใช้คำสำคัญ
1. ระบุคำ เรื่องที่ต้องการค้นในเว็บไซต์ที่เป็น search engine เช่น ราชสีห์ ลงในช่องสืบค้น
1. ระบุคำ เรื่องที่ต้องการค้นในเว็บไซต์ที่เป็น search engine เช่น ราชสีห์ ลงในช่องสืบค้น
2. จะปรากฏจำนวนรายการข้อมูลที่ค้นพบ
และโยงไปยังแหล่งข้อมูลที่ต้องการ
3. การค้นหาแบบ Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search
Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล
แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ
วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural
Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search
Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
4. จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์
Google พอสังเขป
ตอบ การสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine
เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิลจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิลจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
ตัวอย่าง Web Search Engine
1. http://www.google.co.th/
2. http://www.youtube.com/
3. http://dict.longdo.com
1. http://www.google.co.th/
2. http://www.youtube.com/
3. http://dict.longdo.com
การสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “เว็บ”
3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”
5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบ
ขั้นตอนการสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “เว็บ”
3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”
5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบ
5. Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ในความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า ห้องสมุดเสมือน (Virtual library) และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic library) แต่มีความแตกต่างคือเป็นห้องสมุด
ที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full – text) ได้โดยตรงมีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับ
ห้องสมุดแบบดั้งเดิม ซึ่งข้อมูลที่อยู่รูปแบบดิจิตอลมีหลายรูปแบบได้แก่
ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในสิ่งพิมพ์
ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลข้อมูลจากซีดีรอม
ข้อมูลในวารสารอิเล็กทรอนิกส์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และจากฐานข้อมูลออนไลน์
ทรัพยากรในห้องสมุดดิจิตอลมาจากหลายสื่อทั้งที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และข้อมูลดิจิตอลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในห้องสมุดมีการผสมผสานการให้บริการข้อมูลจากสื่อทุกประเภททั้งรูปแบบของการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการจัดการ
ระบบงานห้องสมุดและการพัฒนาห้องสมุด ดิจิตอลเพื่อจัดเก็บและให้บริการข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยตรง
ความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objectsคือเนื้อหาเรียกว่า Contents ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย items และข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือ Dataนั้น ๆ เรียกว่า Metadata หรือ Properties.
ทรัพยากรในห้องสมุดดิจิตอลมาจากหลายสื่อทั้งที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และข้อมูลดิจิตอลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในห้องสมุดมีการผสมผสานการให้บริการข้อมูลจากสื่อทุกประเภททั้งรูปแบบของการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการจัดการ
ระบบงานห้องสมุดและการพัฒนาห้องสมุด ดิจิตอลเพื่อจัดเก็บและให้บริการข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยตรง
ความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objectsคือเนื้อหาเรียกว่า Contents ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย items และข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือ Dataนั้น ๆ เรียกว่า Metadata หรือ Properties.
6. จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ 1.เว็บไซด์โครงการ Schoollnet@1509 http://www.school.net.th
2.เว็บไซด์ Learn
Online http://www.learn.in.th ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย Thailand Graduate
Institute of Science and Technology TGIST
http://media.rajsima.ac.th
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 8
1. ให้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้
โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1
การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ 1. ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ
ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
1.2
หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ 1.การดึงดูดความสนใจ
1.2 ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
1.3 ความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมาย
1.3
การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ 1. การบรรยายสด
เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม
เพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดีรู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมทำให้ผู้บรรยายรู้ว่าผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด
1.4
เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ 1.เครื่องฉายสไลด์ slide
projector
2.เครื่องฉายแผ่นใส Overheard
projector
3.เครื่องฉาย Data
projector หรือ LCD projector
1.5
รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ มี 2 รูปแบบ
1.การนำเสนอแบบ Slide
Presentation
1.1โดยใช้โปรแกรม Power
Point
1.2โดยใช้โปรแกรม Proshow
Gold
1.3โปรแกรม Flip
Album
2.รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
Computer Assisted Instraction
CAI คือ
โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีหน้าที่เป็นสื่อการเรียนการสอนเหมือนแผ่นใส
(Transparent) สไลด์ (Slide)
หรือวีดีทัศน์ (Video) ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น