การผลิตนํ้าตาลทรายจัดว่าเป็น
Sytem หรือไม่
ในอดีตการจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวภายในประเทศเป็นไปอย่างเสรี รัฐบาลเป็นแค่เพียง ผู้กำหนดปริมาณน้ำตาลทรายขาวไว้ให้โรงงานทำการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอเท่านั้น ส่วนราคาจำหน่ายน้ำตาลก็ได้กำหนดเพียงราคาขั้นสูง เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยอาศัยพระราชบัญญัติป้องกัน การค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2509 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2517) ส่วนราคาที่เกิดขึ้นจริง และปริมาณการจำหน่ายให้เป็นไปตามกลไกของตลาด
ต่อเมื่อได้นำระบบแบ่งปันผลประโยชน์มาใช้ตั้งแต่ฤดูการผลิต 2525/26 เป็นต้นมาระบบการจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบที่มีการควบคุม
โดยได้มีการจัดตั้งสำนักงานกลางจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง
โดยโรงงานน้ำตาลทั้งหมดจะต้องขายน้ำตาลให้แก่ผู้ใช้ เช่น โรงงานน้ำอัดลม
โรงงานผลิตนมข้นหวาน โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง และผู้ค้าส่ง (หรือยี่ปั๊วน้ำตาลทราย)
ผ่านสำนักงานกลางนี้
ซึ่งขั้นตอนการซื้อขายและการส่งมอบจะต้องเป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการกลางกำหนดราคาและป้องกันการผูกขาดว่าด้วยการควบคุม
การผลิต การจำหน่ายและการเก็บสำรอง น้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายบริสุทธิ์
ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ.2522
ต่อมาสำนักงานกลางจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายขาว
ได้ย้ายมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการน้ำตาลทราย (2527) และได้เปลี่ยนเป็นศูนย์ควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย
สำนักงาน คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม (21 ตุลาคม 2528) จากนั้นได้มีการมอบหมายให้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของกองควบคุมการจำหน่าย
บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (1 มิถุนายน 2529) ซึ่งต่อมาได้ย้ายกลับไปอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
อีกครั้ง และได้เปลี่ยนชื่อไปเป็นศูนย์บริหารการผลิตการจำหน่าย
และการขนย้ายน้ำตาลทราย (1 ตุลาคม 2537
ตามระบบใหม่นี้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
ได้เข้าควบคุมการผลิตอ้อยและ น้ำตาลทรายทุกขั้นตอนรวมถึงการตลาดด้วย
เพื่อที่จะนำรายได้สุทธิจากการขายน้ำตาลทรายมาจ่ายเป็นราคาอ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อย
และนำผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่โรงงานรัฐบาล จึงมีมาตรการในการควบคุมด้านผลผลิตน้ำตาล
(ยกเว้นผลพลอยได้จากการผลิต คือ กากน้ำตาล)
และการจำหน่ายน้ำตาลทรายที่ผลิตขึ้นได้ทั้งหมด
โดยแบ่งสรรโควต้าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายที่ได้ในแต่ละฤดูการผลิตออกเป็น 3 ส่วน
1. น้ำตาลทรายโควต้า ก
ได้แก่
น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลขาวบริสุทธิ์ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กำหนดให้โรงงานน้ำตาลผลิตเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศ ตามปริมาณที่
คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจะกำหนดในแต่ละฤดูการผลิต
2. น้ำตาลทรายโควต้า ข
ได้แก่
น้ำตาลทรายดิบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดให้โรงงานน้ำตาลผลิตแล้วส่งมอบให้บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย
จำกัด เพื่อการส่งออกไปยัง ต่างประเทศ
3. น้ำตาลทรายโควต้า ค
ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบ หรือน้ำตาลทรายขาว
หรือน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์
ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดให้โรงงานผลิตเพื่อการส่งออกได้ หลังจากที่
โรงงานผลิตน้ำตาลทรายได้ครบตามปริมาณที่จัดสรรให้ตามโควต้า ก และ โควต้า ข แล้ว
สำหรับระบบการจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ
หรือการจำหน่ายน้ำตาลโควต้า ก นั้น
คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้มอบหมายให้คณะกรรมการน้ำตาลทราย
เป็นผู้วางแผนควบคุม และกำหนดวิธีการจำหน่าย และยังมอบให้ศูนย์บริหารการผลิต
การจำหน่าย และการขนย้ายน้ำตาลทรายเป็นฝ่ายปฏิบัติการ
ซึ่งการจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศนั้นจะมีลักษณะเป็นตลาดกลาง โดย โรงงานน้ำตาล
ดำเนินการขายอย่างเสรี เพียงแต่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจะควบคุมปริมาณ
น้ำตาลทรายที่จะเข้าสู่ตลาดกลาง และรักษาเสถียรภาพของราคาไว้ โดยคณะกรรมการ
จะกำหนดงวด การนำน้ำตาลทรายออกมาจำหน่ายตามความต้องการของตลาด
ปริมาณน้ำตาลทรายทั้งหมดที่จำหน่ายภายในประเทศ หรือ โควต้า
ก ได้ถูกแบ่งออกเป็นงวดจำหน่าย จำนวน 52 งวด
ตามจำนวนสัปดาห์ในรอบปีเพื่อให้โรงงานน้ำตาลนำน้ำตาลออกจำหน่ายสัปดาห์ละ 1 งวด ให้แก่ผู้ค้าส่งหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบ
โดยศูนย์บริหารฯ
จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานควบคุมโดยออกใบอนุญาตขนย้ายน้ำตาลของโรงงานน้ำตาลต่าง ๆ
ให้กับผู้ซื้อภายหลังจากชำระค่าน้ำตาลให้กับตัวแทนของโรงงานแล้ว
และผู้ซื้อน้ำตาลจะนำใบอนุญาตดังกล่าวของโรงงานไปรับน้ำตาลเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป
เฉลย การบ้านครั้งที่ 2
Input
|
Process
|
Output
|
โรงงานน้ำตาล
|
การสกัดน้ำอ้อย
|
น้ำตาลทราย
|
เครื่องจักร
|
การทำความสะอาดน้ำอ้อย
|
กากน้ำตาล
|
วัตถุดิบ
|
การต้มให้ได้น้ำเชื่อม
|
ชานอ้อย
|
แรงงาน
|
การปั่นแยกผลีกน้ำตาล
|
|
เงินทุน
|
การอบ
|
|
การบรรจุถุง
|